โซเชียลมีเดีย

รวมวิธี จัดการบัญชีโซเชียลมีเดีย หลังจากที่เจ้าของเสียชีวิตไปแล้ว

ปัจจุบันเมื่อเราหรือคนที่เรารู้จัก ได้เสียชีวิตไปแล้ว จะไม่ได้มีแค่สิ่งของ หรือความทรงจำไว้ดูต่างหน้าอีกต่อไป แต่ในปัจจุบันยังมี ร่องรอยในโลกออนไลน์ ที่เราจะต้องจัดการเพิ่มขึ้นมาอีก หลังจากที่ได้เสียชีวอตไปแล้ว ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โลกออนไลน์โดยเฉพาะโวเชียลมีเดียนั้น ได้กลายเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ในชีวิตของคนในปัจจุบันไปแล้ว

และในชีวิตของแต่ละคนนั้น แม้ตัวเราตาย ก็จะดับสูญไปตามการเวลา แต่ ‘ตัวตนในโลกออนไลน์’ ของเราก็ยังจะอยู่ตลอดไป จนกว่าแพลตฟอร์มโซเชียลนั้นๆ จะเลิกให้บริการไป แต่ที่ผ่านมาไม่มีใคร สามารถเข้าไปจัดการกับมันได้ คำถามก็คือ เราควรจะมำอย่างไร หากเรา หรือคนรู้จักได้เสียชีวิตไปจากโลกนี้แล้ว

หากยังจำกันได้ ช่วงกลางปี 2565 โซเชียลมีเดียของอดีตดาราสาวผู้ล่วงลับ ‘แตงโม–นิดา พัชรวีระพงษ์’ กลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้งจนกลายเป็นข่าวใหญ่ ด้วยการโพสต์ภาพและข้อความต่างๆ ในชื่อของเธอ ราวกับว่าแตงโมไม่เคยจากไปไหน กรณีแบบนี้ยิ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของการจัดการบัญชีออนไลน์ต่างๆ อย่างถี่ถ้วน

เราจะจัดการ ‘ตัวตนออนไลน์’ อย่างไร เมื่อเราจากไป? The MATTER ชวนไปสำรวจวิธีการต่างๆ ที่พอจะทำได้ในแพลตฟอร์มต่างๆ รวมถึงช่องทางตามกฎหมายที่มีอยู่ในไทย

โซเชียลมีเดีย
ทำอะไรกับบัญชีของผู้ที่จากไปได้บ้าง?

Facebook เริ่มต้นกันก่อนที่เฟซบุ๊ก ข้อมูลที่หน้า ‘ศูนย์ช่วยเหลือ’ ของแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่แห่งนี้ระบุว่า เราสามารถเลือกที่จะตั้ง ‘ผู้สืบทอดบัญชี’ (legacy contact) ไว้ล่วงหน้า เพื่อให้มาดูแลบัญชีของเราบางส่วน หลังจากที่เราจากไปได้ โดยที่ผู้สืบทอดจะมีตัวเลือกจัดการกับบัญชีของเราได้ 2 วิธีหลักๆ คือ (1) ตั้งเป็นบัญชีที่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์ (memorialized account) หรือ (2) ลบบัญชีของเรา

สำหรับการตั้งเป็นบัญชีที่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์ เฟซบุ๊กระบุว่า เป็นตัวเลือกที่จะเปิดพื้นที่ให้เพื่อนหรือครอบครัวมาแบ่งปันความทรงจำของเราหลังเสียชีวิตด้วย โดยจะปรากฏคำว่า ‘ระลึกถึง’ (remembering) ที่หน้าโปรไฟล์ ขณะที่เนื้อหาจะคงอยู่ตามเดิม แต่จะไม่ปรากฏในพื้นที่เนื้อหาสาธารณะ และเฟซบุ๊กย้ำว่า จะไม่มีใครเข้าสู่ระบบบัญชีของเราได้ แม้กระทั่งผู้สืบทอดบัญชี

Instagram อินสตาแกรมซึ่งมีเจ้าของเดียวกับเฟซบุ๊ก ก็ย่อมมีตัวเลือกที่คล้ายๆ กัน แต่ต่างกันที่เราจะไม่สามารถตั้งค่าล่วงหน้าได้ ญาติๆ ต้องแจ้งไปที่อินสตาแกรม พร้อมแสดงหลักฐานการเสียชีวิตเพื่อขอดำเนินการด้วยตัวเอง (สามารถแจ้งได้ที่นี่) หลังจากที่แจ้งอย่างถูกต้องแล้ว อินสตาแกรม ก็จะปรับบัญชีของเรา ให้กลายเป็นบัญชีที่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์ (memorialized account)

คล้ายคลึงกับเฟซบุ๊ก ขณะที่ครอบครัวใกล้ชิดของเราอาจจะขอให้ลบบัญชีได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งก็จะต้องแนบหลักฐานการเป็นครอบครัวใกล้ชิดให้กับอินสตาแกรม

Google สำหรับบัญชีกูเกิล จะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เครื่องมือจัดการบัญชีที่ไม่ใช้งาน’ (Inactive Account Manager) ซึ่งเราสามารถเข้าไปวางแผนได้ว่า หลังจากกูเกิลตรวจจับว่าบัญชีของเราไม่มีความเคลื่อนไหวแล้ว (ที่เราเลือกระยะเวลาได้ตั้งแต่ 3-18 เดือน) จะให้มีการจัดการกับข้อมูลของเราอย่างไร รวมไปถึงว่าจะเลือกให้ลบ

หรือไม่ลบบัญชีของเราได้ด้วย แต่ใครที่ไม่ได้ตั้งค่าในส่วนนี้ไว้แล้วจากไป ครอบครัวใกล้ชิดสามารถยื่นคำขอไปที่กูเกิล เพื่อปิดบัญชีหรือขอเนื้อหาบางส่วนจากบัญชีได้ ซึ่งในกรณีของกูเกิล แน่นอนว่าครอบคลุมไปถึงบริการอื่นๆ ด้วย เช่น YouTube, Gmail หรือ Google Drive เนื่องจากใช้งานบัญชีเดียวกัน

Twitter ทวิตเตอร์ไม่ได้มีตัวเลือกให้ตั้งค่าล่วงหน้า หรือตั้งบัญชีไว้เป็นอนุสรณ์ได้ ทางเดียวที่ทำได้ ญาติ ผู้ปกครอง หรือผู้แทนตามกฎหมาย สามารถส่งคำขอมาที่ทวิตเตอร์เพื่อปิดบัญชีได้

LINE ทางด้านไลน์ ก็คล้ายๆ กับทวิตเตอร์ มีตัวเลือกเดียว คือ สามารถติดต่อไปที่ไลน์เพื่อขอปิดบัญชีได้ โดยที่บัญชีก็จะคงอยู่ตามเดิม ถ้าไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ

TikTok สำหรับติ๊กต็อก ยังไม่มีนโยบายหรือตัวเลือกให้จัดการบัญชีหลังเสียชีวิตได้แต่อย่างใด

กฎหมายไทยบอกไว้อย่างไร?

สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่จะสามารถนำมาบังคับใช้กับการจัดการบัญชีต่างๆ ในโลกออนไลน์ได้โดยตรง แต่บทความ ‘จะจัดการกับทรัพย์มรดกทางดิจิทัลอย่างไร?’ ที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ไทยพับลิก้า (ThaiPublica) เมื่อปี 2561 ก็ได้ให้คำแนะนำถึงการจัดการบัญชีดิจิทัลที่ถูกต้องตามกฎหมายไว้ด้วยเหมือนกัน

บทความดังกล่าว ซึ่งเขียนโดย ทพพล น้อยปัญญา ระบุว่า เจ้าของบัญชีสามารถทำพินัยกรรม (will) รวมถึงเอกสารที่เรียกว่า letter of wishes ซึ่งไม่มีผลตามกฎหมาย แต่ช่วยแสดงเจตนาและตีความพินัยกรรมประกอบได้ ทั้งนี้ ในพินัยกรรม ก็ควรระบุถึงบัญชีดิจิทัลต่างๆ และให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทมีอำนาจในการตัดสินใจบัญชีเหล่านี้

แต่ถ้าไม่ใช่บัญชีโซเชียลมีเดีย หากเป็น ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ เช่น เหรียญคริปโตฯ หรือโทเคนดิจิทัล ไทยก็มีกฎหมายอยู่ฉบับหนึ่ง ที่เรียกว่า พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ให้การรับรองสถานะของสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้ในฐานะทรัพย์สิน ส่งผลให้ทายาทจัดการได้ตามกฎหมายโดยตรง

บทความโดย ปรุงศักดิ์ เชาวน์ชาติ นักวิจัยกฎหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (NIDA) ระบุว่า หากอยู่ในแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์ (centralized) ทายาทสามารถนำหลักฐานการเสียชีวิตติดต่อกับผู้ประกอบการแพลตฟอร์ม เพื่อขอส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัลต่อไปได้ แต่ในกรณีที่เป็นสินทรัพย์แบบไม่รวมศูนย์ (decentralized) ก็ต้องมีการแจ้งช่องทางเข้าถึงไว้ล่วงหน้า มิฉะนั้น ก็จะไม่สามารถจัดการอะไรได้

ขอบคุณแหล่งที่มา : thematter.co
สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : rapturearabians.com