กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง ประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นเชื่อมต่อกันด้วยหมอนรองกระดูก และข้อต่อกระดูกสันหลัง โดยที่ตัว กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ปกป้องไขสันหลัง ส่วนหมอนรองกระดูกทำหน้าที่เหมือนกับโช๊คอัพของรถยนต์ คือ ทำให้กระดูกสันหลังยืดหยุ่นและรับแรงกระแทกของน้ำหนักตัวจากการเคลื่อนไหวดังนั้นการใช้งานหนักในชีวิตประจำวัน หรืออายุที่เพิ่มขึ้น ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพได้

โดยหมอนรองกระดูกที่พบว่ามีปัญหาบ่อยที่สุดคือ หมอนรองกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4-5 เนื่องจากเป็นข้อต่อระดับที่มีการเคลื่อนไหว และรับน้ำหนักมากในร่างกายเมื่อหมอนรองกระดูกมีสภาพเสื่อม ความสูงของหมอนรองกระดูกลดลง และมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อหมอนรองกระดูก ทำให้แกนหมอนรองกระดูกหลุดรอดมาภายนอก และกดทับเส้นประสาทไขสันหลังได้

กระดูกสันหลัง

อาการของ โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง กดทับเส้นประสาท

– อาการปวดหลัง สะโพกและปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างรุนแรง อาการปวดมากขึ้นเวลาไอ หรือจาม

– อาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อสะโพกกล้ามเนื้อในการกระดูกข้อเท้าและ ปลายนิ้วหัวแม่เท้า
– อาการชาบริเวณปลายเท้า โดยเฉพาะบริเวณง่ามนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วเท้าที่ 2

– อาการผิดปกติของระบบขับถ่าย ในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ จะมีความผิดปกติของระบบขับถ่ายร่วมด้วย เช่น ไม่สามารถควบคุมการอุจจาระหรือปัสสาวะได้ ซึ่งจำเป็นต้องผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นระบบขับถ่ายอาจไม่สามารถฟื้นคืนได้ตามปกติ

สาเหตุของหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท

1.น้ำหนักตัวมาก
เพราะยิ่งน้ำหนักตัวมาก กระดูกสันหลังก็ต้องรับน้ำหนักมากตามไปด้วย

2.การใช้งานที่ไม่เหมาะสม
เช่น ก้มหลัง ยกของหนัก เพราะท่าทางเหล่านี้เป็นการเพิ่มแรงดันที่หมอนรองกระดูกค่อนข้างเยอะ ซึ่งอาจจะเกินความทนทานที่หมอนรองกระดูกรับได้ จนกระทั่งเกิดการแตกปลิ้นออกมา

3.การนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ
พบมากในกลุ่มคนวัยทำงาน และมักจะมีโอกาสเกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทในบริเวณช่วงเอวมากที่สุด เพราะเวลาที่นั่งนานๆ กระดูกสันหลังส่วนนั้นจะรับน้ำหนักแบบเต็มๆ

4.การไอหรือจามแรงๆ
เป็นสาเหตุหนึ่งของการเพิ่มแรงดันอย่างฉับพลันในหมอนรองกระดูก

5.คนที่สูบบุหรี่จัด
บุหรี่จะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมก่อนวัยอันควร และทำให้หมอนรองกระดูกเกิดการแตกปลิ้นได้มากขึ้น

การเกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทมี 3 รูปแบบ

1.Protusion
ตัวนิวเคลียสด้านในมีการทะลักออกมา โดยที่ขอบด้านนอกยังไม่เกิดการฉีกขาด

2.Extrusion
ขอบด้านนอกมีการขาดออก และมีนิวเคลียสทะลักออกมาโดยที่ยังติดกับด้านในอยู่ ไม่ได้หลุดออกมาเป็นชิ้นอิสระ

3.Sequestration
ขอบด้านนอกมีการขาดออก โดยที่นิวเคลียสมีการปลิ้นหลุดออกมาเป็นชิ้นอิสระจากด้านใน

อาการปวดในช่วงแรกจะค่อนข้างมาก ซึ่งเกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยคือ ปริมาณการกดทับของเส้นประสาท และการอักเสบจากการแตกปลิ้นของหมอนรองกระดูก คนไข้ประมาณ 80% ที่ทำการรักษาอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นใน4-6 สัปดาห์ แต่จะมีส่วนที่เหลือที่อาการอาจจะไม่ดีขึ้น เนื่องจากมีหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทมาก ซึ่งอาจจะต้องรักษาโดยการผ่าตัด

สังเกตอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ปวดหลัง ปวดบริเวณเอว เป็นๆ หายๆ ปวดร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า เดินได้ไม่ไกล มีอาการปวดชาลงไปถึงขาเหมือนเป็นตะคริวร่วมด้วย ต้องหยุดพัก แล้วจึงจะเดินต่อไปได้ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของขา กระดกข้อเท้าไม่ได้

การรักษา โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง กดทับเส้นประสาท

1.รักษาโดยการลดน้ำหนักและ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเพิ่มขึ้น ได้แก่

– การยกของหนัก

– การนั่งรถยนต์นานๆ

– หลีกเลี่ยงอาการท้องผูกหรือเบ่ง ถ่ายอุจจาระแรงๆ เป็นต้น เนื่องจากทำให้เกิดแรงดันในหมอนรองกระดูกสูง เป็นสาเหตุให้หมอนรองกระดูกทนแรงดันไม่ได้ เกิดการแตกของหมอนรองกระดูกตามมา

2.ยาต้านการอักเสบ NSAIDS, ยาคลายกล้ามเนื้อ

3.กายภาพบำบัดและใช้เสื้อพยุงหลัง ช่วยในการลดอาการปวด และทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน ได้ปกติเร็วขึ้นหลักการของการใส่เสื้อพยุงหลัง ในผู้ป่วย โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท คือ การทำให้หน้าท้องกระชับขึ้นจะช่วยลดแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลังได้ ร่วมกับจำกัดความเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง ทำให้อาการปวดลดลง

4.การผ่าตัด ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดมีดังนี้

– ผู้ป่วยที่มีอาการปวดมากจนทนไม่ได้ แม้จะรักษาโดยรับประทานยา พักและกายภาพบำบัดเต็มที่แล้วก็ยังไม่สามารถทำงาน หรือใช้ชีวิตได้ตามปกติ

– มีอาการชา อ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อขาลีบอย่างชัดเจน

– มีปัญหาระบบขับถ่ายผิดปกติชัดเจน จากความผิดปกติของเส้นประสาท เช่น กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้

ที่มา

nonthavej.co.th

kdmshospital.com

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ rapturearabians.com